Skip to content

แรกเริ่มเดิมที ก่อนที่จะมีการใช้ WordPress ในการทำแพร่หลายแทบทุกแนวอย่างในปัจจุบันนี้ WordPress ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเว็บบล็อก ซึ่งพัฒนามาจาก b2 cafelog แต่ภายหลังก็ได้มีการพัฒนาเทมเพลตให้มีดีไซน์เพื่อการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น และเริ่มมีความยืดหยุ่นให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดออกแบบหน้า Homepage ผ่านทาง Theme Options ได้ จากกนั้นก็เริ่มมีการใช้ปลั๊กอิน Shortcode เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะออกแบบเองได้ และกลายมาเป็น Page Builder แบบ Drag& Drop ในที่สุด

ข้อดีของการใช้ Page Builder

  • สามารถที่จะออกแบบหน้าตาของเว็บได้เอง โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องโค้ด
  • สะดวกในการปรับแต่งแก้ไขเมื่อไหร่ก็ได้ เมื่อใช้งานเป็นแล้วสามารถทำได้เอง ไม่ต้องรอโปรแกรมเมอร์
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีหัวทางด้านการออกแบบอยู่แล้ว สามารถใช้ Page Builder เพื่อออกแบบเว็บได้สวยยิ่งขึ้น
  • ใช้งานง่าย สามารถลากวางและเห็นผลการเปลี่ยนแปลงในทันที
  • สามารถที่จะทำเว็บได้อย่างรวดเร็วจากการใช้เทมเพลตสำเร็จรูปมาแก้ไขได้
  • สามารถส่งต่องานให้คนอื่นที่ใช้งาน Page Builder ตัวเดียวกันแก้ไขได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องรื้อโค้ด
Elementor template

ข้อเสียของการใช้ Page Builder

  • Page Builder บางตัว อาจจะสร้างโค้ดที่หนักโดยไม่จำเป็นซึ่งอาจจะทำให้ข้อหาในเรื่องความเร็ว
  • Page Builder บางตัว อาจจะยังแสดงเป็น Shortcode เมื่อเราถอนการติดตั้งปลั๊กอิน ทำให้แก้ไขข้อมูลลำบาก
  • ต้องมีการอัพเดตสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถใช้งานร่วมกับ WordPress และปลั๊กอินอื่นๆ ได้ดีอยู่ตลอดเวลา
  • หากใช้ไม่ชำนาญพอ อาจจะทำให้เว็บที่ได้ออกมามีหน้าตาซ้ำๆ กันได้
  • การใช้ Page Builder บางตัว อาจจะต้องคำนึงถึงอนาคตด้วย เพราะหากเราหยุดใช้หรือเปลี่ยนไปใช้ตัวอื่นเมื่อไหร่ มันก็จะกลายร่างเป็น Shortcode ทันที ทำให้อ่านข้อมูลไม่รู้เรื่อง เราจึงอาจจะต้องแก้ไขทีละหน้าจนกว่าจะเสร็จทุกหน้า

นอกจากนี้ หากเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการโค้ด เช่น CSS จะช่วยให้เราสามารถใช้งาน Page Builder ได้ดีและยืดหยุ่นมากกว่าเดิม ถึงแม้จะบอกว่าไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ก็ตาม ลองมาดู Page Builder ที่เป็นที่นิยมกันอยู่ในตอนนี้กันดีกว่าค่ะ

SiteOrigin Page Builder

เป็นปลั๊กอิน Page Builder ที่มีมานาน โดดเด่นที่เป็นปลั๊กอินฟรี สามารถใช้งานได้ทั้งแบบ Classic และแบบ Visual (เสมือนจริง) มีคนใช้งานมากพอสมควร เข้ากับธีมและปลั๊กอินส่วนใหญ่ได้ดี เป็นปลั๊กอิน Page Buider ตัวแรกๆ ที่แนะนำให้ใช้งาน เพราะถึงแม้จะฟรี แต่ก็ใช้งานได้เท่าเทียมกับตัวเสียเงินหลายตัว

More Details

Elementor Page Builder

เป็นปลั๊กอิน Page Builder ที่เพิ่งพัฒนาขึ้นมาภายหลังไม่นาน แต่พัฒนาและได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว โดดเด่นด้วย Live Editor ที่ใช้งานได้ง่าย มี Templete สำเร็จรูปให้นำมาดัดแปลงหรือศึกษาเยอะ พัฒนาเพิ่มลูกเล่นและ Widgetsใหม่อย่างสม่ำเสมอ เชื่อมต่อกับบริการอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ดีไซเนอร์ จึงทำให้เป็นที่ติดใจของผู้ใช้งาน โดยเฉพาะคนที่มาจากสายกราฟฟิคดีไซน์ ที่หันมารับทำเว็บไซต์เพิ่มมากขึ้นด้วยการใช้ Page Builder

More Details

Divi

เป็นทั้ง Theme และ Plugin ในตัวเดียวกัน โดยธีมที่ว่านี้คือ Divi ถูกฝัง Page Builder ที่ชื่อว่า Divi มาด้วยเลย ทำให้สามารถทำงานเข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แบบ Divi สามารถปรับแต่งได้ค่อนข้างมาก มีกลุ่มผู้ใช้ที่ค่อนข้างใหญ่พอสมควร มี Marketplace ที่สร้างโดยผู้ใช้งานเพื่อขาย Child theme, Template และปลั๊กอินเสริมมากมาย Divi สามารถใช้งานได้ทั้งแบบ Classic และ Visual Editor ที่หน้าตาสีสันฉูดฉาดสวยงาม สามารถออกแบบเว็บได้แทบทุกแนวเช่นเดียวกัน Divi มีปลั๊กอินชื่อเดียวกันสำหรับติดตั้งใช้งานในธีมอื่นๆ ได้ด้วย

Divi + ปลั๊กอินทั้งหมดของ Elegant themes กำลังลด 20%

WPBakery Page Builder (Visual Composer)

เดิมชื่อ Visual Composer เป็นที่นิยมมากที่สุดใน Themeforest เนื่องจากเป็นปลั๊กอินที่ผู้พัฒนาธีมมักจะนำไปใส่ไว้ในธีมเพื่อแถมให้กับผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถออกแบบเว็บเองได้โดยไม่จำกัดอยู่แค่ตั้งค่าของธีม มีอยู่ในธีมยอดนิยมหลายตัว ตัวปลั๊กอินมีความยืดหยุ่นสำหรับนักพัฒนาที่มักจะเขียนโมดูลต่างๆ พิเศษขึ้นมาเพื่อใช้กับธีมของตัวเองโดยเฉพาะ ข้อดีอีกอย่างของมันก็คือเมื่อแถมมากับธีมแล้วเราไม่จำเป็นต้องเสียเงินซื้อเพิ่มและสามารถอัพเดตได้ตลอดผ่านทางผู้พัฒนาธีม มีปลั๊กอินเสริมค่อนข้างเยอะเช่นเดียวกัน

More Details

Beaver Builder

Beaver Builder เป็น Page Builder ที่ได้รับความนิยมและแนะนำจากพัฒนาต่างชาติหลายคน มีสิ่งที่เรียกว่า Themer ที่ทำให้สามารถควบคุมเทมเพลตของเว็บได้ทั้งเว็บที่ไม่ใช่เพียงแต่การออกแบบหน้าเดี่ยวๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง Dynamic content เช่น Post, Archive, Categories ได้อีกด้วย ทำให้เราไม่จำเป็นต้องแก้ไขธีมหรือ PHP ของ Child Theme ปลั๊กอินสามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างดีกับ Toolset ปลั๊กอินที่ใช้สำหรับสร้าง Custom Post Type

More Details

นอกจากนี้ยังมี Page Builder อีกหลายตัว เช่น MotoPress, Sandwich, KingComposer, Themify และยังมีธีมที่ใช้ Page Builder ของตัวเองอีกเช่นธีมขายดีอย่าง Avada

ารเลือกใช้ Page Builder นั้นจำเป็นจะต้องลองด้วยตัวเองจริงๆ เพราะแต่ละคนอาจจะชอบไม่เหมือนกัน แม้ว่าตอนนี้หน้าตาและการใช้งานของ Page Builder หลายตัวนั้นค่อนข้างที่จะมีความคล้ายคลึงกันมากๆ เราอาจจะต้องเลือกทดลองใช้งานเวอร์ชั่นฟรีของแต่ละตัวดูก่อนแล้วพิจารณาดูว่าคุณสมบัติอื่นๆ นั้นเหมาะที่จะนำมาใช้กับงานของเราหรือไม่ เพราะการเปลี่ยน Page Builder ก็เหมือนการเริ่มต้นใหม่ทั้งการใช้งานและข้อมูลเนื้อหา เพราะแต่ละตัวนั้นยังไม่สามารถที่จะนำไปแปลงเป็นอีกตัวได้

Back To Top
Search