Skip to content

หลายคนคงจะเคยใช้ปลั๊กอินประเภทแคชมากันแล้ว ซึ่งมีหลายเจ้าด้วยกันที่ทำออกมาแข่งขันกันในตลาด วันนี้เรามีปลั๊กอินช่วยเพิ่มความเร็วของเว็บ นั่นก็คือ FlyingPress จะดีจะเด็ดดวงแค่ไหนไปติดตามกันได้เลย

ทำความรู้จักปลั๊กอิน FlyingPress

FlyingPress เป็นปลั๊กอินสำหรับระบบ WordPressจากค่าย “WP Speed Matters” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มความเร็ว น้ำหนักเบาและใช้งานง่าย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของ Core Web Vitals ของเว็บไซต์ด้วยการคลิกเพียงไม่กี่ครั้งเท่านั้น แต่เป็นปลั๊กอินแบบ Premium ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อใช้งานครับ

Interface

Interface ค่อนข้างดูเรียบง่าย สบายตา ใช้งานง่าย แบ่งเป็นหมวดๆ ให้เราเลือก Optimize เป็นมิตรกับผู้ใช้งาน คลิกไม่กี่คลิก ก็เรียบร้อย

ทำไมถึงต้องใช้ FlyingPress

– Interface ปรับแต่งง่าย Optimize ให้เว็บเร็วขึ้นได้อย่างง่ายดาย

– การตั้งค่าอาจจะมีไม่มาก แต่การเร่งความเร็วเว็บเป็นเรื่องง่าย

– ปรับให้เหมาะสมสำหรับ Core Web Vitals เพิ่มประสิทธิภาพให้เบราว์เซอร์สมัยใหม่เพื่อ Web Vitals โดยเฉพาะ

– ไม่จำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอินหลายตัว FlyingPress สามารถจบได้เพียงปลั๊กอินตัวเดียว

– มีทีมงานของให้ความช่วยเหลือทั้งด้านเทคนิดและการปรับตั้งค่า

– เข้ากันได้กับธีมและปลั๊กอินดังๆ รวมถึงโฮสต์สำหรับ WordPress

รีวิวจากผู้ใช้งานบางส่วน

คุณ Robert Hedlund

“ผมใช้ WP-Rocket สำหรับเว็บไซต์ WooCommerce เป็นเวลา 2ปีแล้ว แต่ตอนนี้ผมประทับใจกับ FlyingPress มาก ไม่มีอะไรจะมีความสุขไปกว่านี้อีกแล้วกับการเพิ่มประสิทธิภาพ ผมตั้งตาคอยฟีเจอร์ใหม่ในอนาคต ผมแนะนำ FlyingPress สำหรับทุกคน การช่วยเหลือจากทีมงานก็แจ่มจริงๆ ครับ”

คุณ Jaime Matos

“ผมใช้และเทสปลั๊กอินที่ปรับความเร็วของ WordPress ทั้งหมดแล้ว ผมยกให้ FlyingPress เอาชนะทุกปลั๊กอินในทุกด้าน ใช้งานและตั้งค่าได้ง่ายมาก ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าปลั๊กอิน Litespeed มากโดยตั้งค่าน้อยกว่า 100 เท่า”

คุณ Borislav Borisov

“FlyingPress เป็นปลั๊กอินที่ดีที่สุดสำหรับเว็บผมเลยครับ ให้ความเร็วที่เราต้องการตรงตามข้อกำหนดของ Google Web Vitals นอกจากนี้ความสามารถในการสร้างไฟล์ Critical CSS เป็นคุณสมบัติที่ประเมินค่ามิได้”

รีวิวมาซะขนาดนี้ เดี๋ยวไปลองดูของจริงกันดีกว่าครับ ว่าปรับตั้งค่าอะไรได้บ้าง

การตั้งค่า FlyingPress

Cache


การตั้งค่าแคชจะคล้ายกับชอง WP Rocket ซึ่งถ้าใครมีประสบการณ์การใช้งาน WP Rocket มาก่อนใช้ไม่ยากแน่นอนครับ

Cache logged in users
เป็นการแคชในแต่ละ Users แนะนำให้ปิดครับ เนื่องจากไม่จำเป็นเท่าไหร่

Automatically preload cache
ทำการ Preload แคช (โหลดล่วงหน้า) แบบอัตโนมัติ

Preload links on hover
จะทำการ Preload ลิ้งค์เมื่อเรานำเมาส์ไปโอเวอร์หรือแตะโดนลิ้งค์

Scheduled preload
กำหนดเวลาในการล้างแคชเก่าและสร้างแคชใหม่ทุกๆ กี่ชั่วโมง

CSS


ส่วนนี้จะเป็น Optimize CSS ภายในเว็บ

Minify CSS
ทำการบีบอัดไฟล์ CSS ด้วยการตัดการเว้นวรรคหรือคอมเมนท์ภายใน CSS ออกทั้งหมด

Remove unused CSS
เป็นการนำ CSS ที่ไม่ได้ใช้งานออกเพื่อให้เว็บโหลดไวขึ้นครับ

Lazy render elements
เป็นการข้ามองค์ประกอบการต่างๆ ของการแสดงผลจนกว่าเว็บจะต้องการ ตรงนี้เราสามารถป้อนรายการ CSS ที่เราไม่ต้องการใช้ Lazy render ได้

JavaScript



Minify JavaScript
ย่อไฟล์จาวาด้วยการลบพวกช่องว่างจากการเคาะเว้นวรรค, คอมเม้นท์

Defer JavaScript
เรียกสคริปท์จาวาหลังจาก HTML โหลดเสร็จแล้ว

Defer Inline
เรียกสคริปต์อินไลน์หลังจากแยกวิเคราะห์ HTML และสคริปต์อื่นๆ เสร็จแล้ว

Exclude scripts from defer
ช่องสำหรับกรอกว่าให้ยกเว้นสคริปต์ตัวไหนจากการ Defer

Delay JavaScript
จะแสดงผลจาวาต่อเมื่อมีการเคลือนไหวของเมาส์ หรือสกรอลเพจ

Delay method
สามารถกำหนดวิธีการ Delay ได้ เช่น Delay เฉพาะที่เลือกหรือทั้งหมด

Font



ส่วนนี้จะเป็นกำหนดการ Optmize ฟอนต์ในเว็บครับ

Optimize Google Fonts
เรียกใช้ Google Font แบบ Local

Display fallback fonts
แสดงฟอนต์สำรองขณะที่ฟอนต์จริงกำลังโหลด

Images

มาถึงส่วนของการปรับแต่งเกี่ยวกับไฟล์รูปครับ

Lazy load images
เลื่อนการแสดงผลรูปภาพที่ไม่จำเป็นออกไปก่อน

Exclude above-fold images
ตรงนี้จะเกี่ยวข้องกับ Lazy load image โดยเราสามารถเลือกจำนวนรูปภาพในส่วนหัวของเว็บที่จะแยกออกจาก การทำงานของ Lazy load images นอกจากนี้ยังสามารถใส่ URL แบบเฉพาะเจาะจงได้ในช่อง Exclude images

Add missing width and height
เพิ่มแอตทริบิวต์ความกว้างและความสูงที่ขาดหายไปโดยอัตโนมัติ เพื่อลดเรื่อง Layout shifts (CLS) ในการทดสอบ PageSpeed

Host Gravatar images locally
ดาวโหลดและเก็บภาพ Gravatar ไว้ในเซิฟเวอร์ของเราเอง เพื่อลดเรื่องการเรียกไฟล์จากภายนอกเว็บ

Preload critical images
โหลดรูปภาพที่จำเป็นสำหรับการเรนเดอร์ครั้งแรกล่วงหน้า เช่น โลโก้, featured image และรูปภาพอื่นๆ ในครึ่งบนของเว็บ

iFrame


กำหนดให้ทำการ Lazy load iFrames คือ iFrames ไหนยังไม่จำเป็นก็จะถูกโหลดทีหลัง

อีกตัวเลือกคือ Use placeholder images for YouTube videos เป็นการใช้ภาพแบบ iFramesแทนสำหรับวีดีโอ YouTube โดยจะโหลดวีดีโอหลังจากคลิกเล่นวีดีโอ

CDN


สำหรับใครที่อยากฝากไฟล์ไว้บน CDN มี edge locations 114 แห่งทั่วโลก เพื่อการโหลดไฟล์ไวยิ้งขึ้น ทาง FlyingCDN ให้บริการอยู่ราคาเดือนละ 3 USD โดยจะบีบอัดไฟล์ภาพและแปลงเป็นไฟล์ WebP ให้ด้วย พร้อม ระบบป้องกัน SSL/DDoS

Bloat



ส่วนนี้จะเป็นลดส่วนที่ทำให้เว็บบวม ซึ่งเราสามารถเลือกปิดการทำงานได้ตามต้องการ

Database



กำหนดการทำความสะอาดฐานข้อมูลของเว็บโดยอัตโนมัติ เป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน โดยติ๊กเลือกแยกตามที่ต้องการได้เลย

Advanced



นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดหน้าที่ไม่ต้องการทำการแคช หรือให้เพิกเฉยกับ Query Parameters หรือจะ Include รวมถึง Bypass cookies ก็สามารถกำหนดได้ตรงนี้

ราคา

ราคาเริ่มต้นสำหรับ 1 เว็บ อยู่ที่ 60 USD (ประมาณ 2,2xx บาท) สำหรับปีแรก ปีต่อไปเก็บปีละ 42 USD (ประมาณ 1,500 บาท) และตัวแพงสุดคือแพลน Agency ราคา 500 USD (ประมาณ 17,xxx บาท) สำหรับปีแรก ปีต่อไปเก็บปีละ 350 USD (ประมาณ 12,xxx บาท) โดยมีระบบ Refund คืนเงินกรณีไม่พอใจปลั๊กอินภายใน 14 วันแรก

สรุป

สำหรับใครที่อยากหาปลั๊กอินแคชที่สามารถปรับ Optimize ส่วนอื่นๆ ได้ด้วยที่ปรับอะไรได้มากกว่า WP Rocket ก็ลองดูเป็นอีกทางเลือกครับ เผื่อใช้แล้วถูกใจก็ใช้กันไป ถ้าไม่ถูกใจก็ขอคืนเงินกับทางเว็บไปครับ

รายละเอียดเพิ่มเติม

Back To Top
Search