Skip to content
WordPress Cache Plugins
1. ติดจรวดให้เว็บด้วย W3 Total Cache
2. สร้าง Cache ให้เว็บไซต์โหลดเร็วด้วย WP Super Cache
3. WP Fastest Cache ปลั๊กอินแคชทำเว็บ WordPress ให้เร็วทันใจ
4. ปรับเว็บให้เร็วด้วย WP Rocket

ทุกวันนี้มีปลั๊กอินสำหรับการสร้างแคชมากมายหลายตัวมาให้เราเลือกใช้งาน ความเร็วของเว็บไซต์ถือเป็นเรื่องคำนึงถึงแรกๆ ของการทำเว็บ เว็บที่ดีจะต้องไม่ให้ผู้ใช้ต้องรอใช้งานนานเกินไป

Cache คือการสร้างหน้าเว็บให้ที่เคยเปิดใช้งานแล้วให้พร้อมต่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไปโดยไม่ต้องทำการดึงข้อมูลใหม่ทุกครั้ง เนื่องจากในการแสดงหน้าเว็บแต่ละหน้า WordPress จะต้องทำการดึงข้อมูลในฐานข้อมูลแต่ละส่วนเพื่อมาแสดงเป็นหน้าเว็บหน้าเดียวแบบที่เราเห็น

WP Fastest Cache

เป็นปลั๊กอินแคชอีกตัวที่ใช้งานง่าย มีทั้งเวอร์ชั่นฟรีและเสียเงิน โดยเตยได้ลองใช้แต่เฉพาะตัวฟรีเท่านั้น ซึ่งก็พบว่าตอบโจทย์พอสมควร ปลั๊กอินไม่มีการตั้งค่าที่ซับซ้อน แต่เวลาใช้งานจริงๆ กับทำงานได้ดีตามที่ต้องการแบบเหนือความคาดหมาย หลังจากที่เปลี่ยนมาใช้ธีม Total เราก็ได้เปลี่ยนมาใช้ปลั๊กอินตัวนี้ดู จากที่ลองใช้มาหลายเดือนจึงขอนำมาแนะนำเพื่อเป็นตัวเลือกสำหรับคนที่กำลังมองหาอยู่

สามารถติดตั้งได้ผ่านเมนูปลั๊กอินของ WordPress

หลังจากติดตั้งและ Activate เพื่อใช้งานแล้ว เราจะเห็นเมนู WP Fastest Cache ที่แถบเมนูในหน้า Dashboard ของเรา

เมื่อคลิกก็จะเข้าสู่หน้าการตั้งค่าต่างๆ

Settings

Cache system : Enable เปิดใช้งานแคช

Preload : เปิดใช้งานสร้างแคชอัตโนมัติโดยไม่ต้องรอให้มีการเรียกดูหน้านั้นก่อน

Login-in Users : ไม่ต้องแสดงแคชสำหรับคนที่ล็อกอิน

New Post : ล้างแคชเมื่อมีการสร้างโพสใหม่ โดยจะมีตัวเลือกให้เลือกคือ

Clear All Cache ล้างทั้งหมด หรืออีกตัวเลือกนึงค่ะ Clear Homepage, Categories, Tags สำหรับล้างเฉพาะหน้า Home, หมวดหมู่, แท็ก

Update Post : ล้างแคชเมื่อมีการอัพเดตโพส มีตัวเลือกคือ
ล้างแคชทั้งหมด หรือล้างเฉพาะ Post,Page ที่แก้ไข, หมวดหมู่, แท็ก, Homepage

Minify HTML : ทำการย่อไฟล์ HTML

Minify CSS : ย่อไฟล์ CSS

Combine CSS : รวมไฟล์ CSS

Combine JS : รวมไฟล์ JS

Gzip : เปิดการใช้งาน Gzip compression เพื่อให้ไฟล์แคชมีขนาดเล็ก

Browser Caching : เปิดการใช้งานบราวเซอร์แคชเพื่อให้เว็บโหลดเร็วขึ้นเมื่อมีการเปิดหน้าอีกครั้ง

Disable Emoji : ปิดการใช้งาน Emoji ของ WordPress

*ส่วนของการ Combine หากเราใช้ปลั๊กอิน Autoptimize อยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้งานตัวนี้ก็ได้ เพราะปลั๊กอิน Autoptimize นั้นทำการ Combine แล้วค่ะ

Cache Timeout

กำหนดการหมดอายุของแคช โดยการตั้งเงื่อนไขขึ้นมาสำหรับหน้าต่างๆ ได้ โดยเมื่อเราคลิกที่ปุ่ม Add New Rule เขาก็จะให้เราตั้งเงื่อนไขใหม่ กรณีนี้เราเลือก IF REQUEST_URI เป็น All คือลบแคชทั้งหมด Then เป็น Once a Day วันละครั้ง และ at ให้ตั้งเวลาที่ต้องการลบ โดยเวลาจะกำหนดตามเซิฟเวอร์ของเรา เราสามารถดูเวลาที่แท้จริงได้ด้านล่าง แล้วทำการเทียบดูว่าจริงๆ แล้วมันจะตรงกับตอนไหนของบ้านเรา เสร็จแล้วก็คลิก Save

Exclude

ไว้สำหรับกำหนดหน้าที่เราไม่ต้องการให้แคช ก็สามารถที่จะตั้งเงื่อนไขได้เช่นกัน ปลั๊กอินจะทำการ exclude หน้า Login เป็นค่าเริ่มต้นไว้อยู่แล้ว นอกจากนี้ก็ยังสามารถยกเว้นสำหรับเอเจ้นต่างๆ รวมไปถึง JS และ CSS ด้วย​ ซึ่งเราจะไม่ได้ไปยุ่งกับตรงนี้นะคะ ค่อนข้างต้องมีความรู้พอสมควรสำหรับคนที่รู้ว่ามันคืออะไรรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่

CDN

เป็นการตั้งค่าสำหรับคนที่ใช้ CDN โดยคนที่ใช้ MaxCDN สามารถเชื่อมต่อได้เลย นอกจากนี้ยังซับพอร์ต Photon ของ WordPress ด้วย โดยเลือกที่ CDN by Photon

CDNย่อมาจาก Content Delivery Network เป็นเครือข่ายเก็บข้อมูลที่มีอยู่หลายแห่งบนโลก การใช้ CDN จะทำให้ข้อมูลของเราถูกดึงจากตำแหน่งที่ใกล้กับผู้เข้าชมมากที่สุด เราสามารถที่จะทำเว็บสำหรับชาวต่างชาติได้โดยไม่ต้องห่วงเรื่องของระยะทางที่จะทำให้เพิ่มเวลาในการเชื่อมต่อ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแคชทำงานแล้ว?
เมื่อเราเปิดหน้าเว็บใดๆ ของเราขึ้นมา ให้คลิกขวาแล้วเลือก View Page Source สำหรับ Chrome เลื่อนไปด้านล่างสุดก็จะเจอกับข้อความแบบด้านล่าง แสดงว่าหน้านี้ได้มีการสร้างแคชเรียบร้อยแล้ว

<!-- WP Fastest Cache file was created in 0.4404890537262 seconds, on 17-05-17 7:16:26 -->

ผลการใช้งาน

Before – เราใช้ธีมมาตฐานที่มากับ WordPress อยู่แล้วในการทดสอบครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าค่า PageSpeed นั้นสูงถึง 98% แล้วโดยแทบไม่ต้องปรับอะไร แสดงว่าเขาโค้ดมาดีมากเลย ไม่มีปัญหากับ JS CSS ที่ต้องทำการปรับแต่งเลย! จะเหลือก็เพียงแต่คะแนนในส่วนของ YSlow ว่าทำไมถึงช้า ซึ่งมีอยู่ 2 ข้อหลักๆ ที่คะแนนน้อยที่สุด นั่นก็คือ Add Expries headers ซึ่งตรงนี้แหละที่เราจะใช้ WP Fastest Cache มาช่วย กับ Use a Content Delivery Network (CDN) ซึ่งอันนี้เราต้องสมัครและนำเว็บเราไปฝากกับผู้ให้บริการ CDN ต่างๆ แทน เช่น Cloudflare เป็นต้น ตัวนี้ปลั๊กอินจะไม่สามารถช่วยเราได้

After – จะเห็นได้ว่าปัญหาเกี่ยวกับ Add Expries headers นั้นได้ถูกแก้ไขขึ้นมาเป็นแท่งเขียวเกือบเต็มแล้ว ถ้าเข้าไปดูคำแนะนำของเขาก็จะเจอกับตัวที่เป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ นั่นก็คือ Google Font เนื่องจากเว็บใช้ Google Font ทำให้เราไม่สามารถตั้งค่าให้มันได้เพราะมันไม่ได้อยู่บนเซิฟเวอร์ของเรา หากต้องการให้ได้เต็มในข้อนี้ก็ต้องเลิกใช้แล้วฝังฟ้อนต์ในเซิฟเวอร์เอง หรือเลือกใช้ฟ้อนต์ที่มีอยู่ในเครื่องของผู้เข้าชม ซึ่งภาษาไทยมักจะไม่ค่อยสวย

นอกจากตัว WordPress, Theme, Plugins จะมีส่วนในเรื่องความเร็วแล้ว การตั้งค่าเซิฟเวอร์เองก็ส่งผลโดยตรง จะเห็นว่าก่อนหน้าที่เราจะใช้ปลั๊กอิน คะแนนต่างๆ ในส่วนของ Server ก็ค่อนข้างดีมาก

การลบแคช

หากเราต้องการที่จะเคลียร์แคชเอา เราสามารถที่จะชี้เม้าส์ที่ปุ่มของ WP Fastest Cache บน Toolbar ได้ โดยหากอยู่ที่หน้าใดหน้าหนึ่ง ก็จะมีเมนู Clear Cache of This Page สำหรับการเคลียร์แคชสำหรับหน้านั้นหน้าเดียวด้วย ส่วนเมนู Delele Cache จะทำการเคลียร์แคชทั้งหมด และ Delete Cache and Minified CSS สำหรับการเคลียร์แคชและ CSS ที่ทำการ minify ไว้ หากเราเลือกให้ปลั๊กอินทำการ minify ไว้ด้วย

หากต้องการให้ปลั๊กอินลบแคชอัตโนมัติเวลาที่มีการเปลี่ยน widgets หรือ menu ให้ใช้ปลั๊กอิน Clear Cache for Me เพื่มเติม ยังไม่เคยลองใช้นะคะ แต่เขาบอกว่าใช้ได้กับหลายปลั๊กอิน

Premium Version

WP Fastest Cache นั้นมีรุ่น Premium ด้วยนะคะ ซึ่งเป็นเหมือนการรวมหลายๆ ปลั๊กอินไว้ด้วยกัน มีฟังชั่นที่น่าสนใจ เช่น

  • บีบอัดไฟล์ได้มากกว่าเดิม
  • ทำความสะอาดฐานข้อมูลได้ในตัว
  • แสดงข้อมูลของแคช
  • บีบอัดภาพได้ในตัว
  • การบีบอัดภาพรองรับ WebP ด้วย

และข้อดีอีกอย่างหนึ่งก็คือ Premium ของ WP Fastest Cache ไม่จำเป็นต้องต่ออายุรายปี ราคา $39.99 สามารถใช้ได้ตลอดไป แต่ถ้าเราใช้ฟังชั่นบีบอัดภาพ ก็จะเพิ่มเฉพาะการบีบอัดภาพตามจำนวนภาพที่ใช้ เพราะมันต้องส่งขึ้นไปบีบที่เซิฟเวอร์ข้างนอก จึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม นับว่าน่าสนใจดีทีเดียว

บทสรุป
WP Fastest Cache เป็นปลั๊กอินที่ใช้งานง่าย การตั้งค่าชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนยุ่งยาก ได้ผลเป็นที่น่าประทับใจ
Design Quality
Customizability
Feature Availability
Easy to use
Speed
ข้อดี
ฟรี
ช่วยให้เว็บเร็วขึ้นเห็นผลชัดเจน
ตั้งค่าง่าย
สามารถทำ Minify JS และ CSS ได้
เชื่อมต่อ CDN ได้
ข้อเสีย
4.7
คะแนน
Back To Top
Search