Skip to content

ครั้งก่อนเราได้นำเสนอการติดตั้ง WordPress แบบอัตโนมัติโดยการใช้ Inw install ที่มักมีไว้ให้บริการตามโฮ้สอยู่แล้ว วันนี้เราลองมาติดตั้งแบบ manual หรืออัตโนมือกันบ้างนะคะ ขั้นตอนก็อาจจะต่างกันเล็กน้อย และใช้เวลานานกว่า เนื่องจากเราต้องอัพโหลดไฟล์ขึ้นไปเอง สร้างฐานข้อมูลเอง เชื่อมต่อฐานข้อมูลเอง แต่ขั้นตอนพวกนี้ถ้าเราฝึกทำจนเข้าใจแล้ว ก็จะไม่ได้ยุ่งยากอะไรค่ะ นั่งเล่นอย่างอื่นไป แป๊บเดียวก็เสร็จ แถมยังทำให้เรามีทักษะเพิ่มขึ้นในการใช้งานฐานข้อมูล และโปรแกรม Ftp ซึ่งวันใดวันหนึ่งข้างหน้าเราอาจจะจำเป็นต้องใช้ โดยเฉพาะหากต้องการที่จะย้ายโฮ้ส เป็นต้น (อ่านบทความเกี่ยวกับการย้ายโฮ้สต์)

สิ่งที่ต้องเตรียม : โฮ้ส, อีเมลรายละเอียดการใช้งานโฮ้สติ้ง, โปรแกรม ftp (fileZilla), ไฟล์ WordPress, Internet
และโดเมนเนมที่ชี้มายังโฮ้สเรียบร้อยแล้ว โดยปกติเราจะไม่ต้องทำอะไรเลยหากเราซื้อคู่กับแบบ โฮ้ส+โดเมน แต่หากเราซื้อแยก ก็ให้ไปเปลี่ยน Namesever ของโดเมนเราให้ชี้มาที่โฮ้สเราให้เรียบร้อยพร้อมใช้เสียก่อน ซึ่งอาจใช้เวลาไม่เกิน 24-48 ชั่วโมง อ่านวิธีตั้งค่า Nameserver

ดาวน์โหลดและแตกไฟล์ WordPress

เราสามารถดาวน์โหลดไฟล์ WordPress ได้ที่เว็บไซต์ http://wordpress.org/download/ หรือถ้าใครอยากโหลดภาษาไทยเลยก็โหลดได้ที่ th.wordpress.org ได้เลยค่ะ เสร็จแล้วให้ทำการแตกไฟล์ซิปที่ได้มาออก ก็จะได้โฟลเดอร์ชื่อ wordpress ที่มีไฟล์ต่างๆ ที่เราต้องอัพโหลดขึ้นไปยัง Server

อัพโหลดไฟล์ WordPress ขึ้นสู่ server

ขั้นตอนการอัพโหลดนี้เราจะต้องมีโปรแกรม fileZilla หรือโปรแกรม ftp อันไหนก็ได้ค่ะ แต่เราได้เขียนวิธีการใช้งานโปรแกรม fileZilla ไว้แล้ว ดังนั้นจึงแนะนำเป็นต้วนี้แล้วกันค่ะ อ่านวิธีการใช้งานโปรแกรม fileZilla

ในรูปจะเป็นการอัพโหลดไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ wordpress (เอาเฉพาะไฟล์และโฟดเดอร์ข้างในนะคะ) ขึ้นไปยังโฟลเดอร์ public_html นะคะ การเชื่อมต่อกับ server ก็ใช้รายละเอียดที่ได้มาจากโฮ้สในการเชื่อมต่อค่ะ ซึ่งในตัวอย่างเป็นของ Pathosting นะคะ เจ้านี้ดีเลย เร็ว แรง ไม่ค่อยล่มและ ซัพพอร์ตเร็วดีค่ะ

เราจะใช้ Username, Password จากหมายเลข 1 และข้อมูล Ftp หมายเลข 2

host-detail

*เราสามารถลบไฟล์ที่มีอยู่เดิมในไฟล์เดอร์ public_html บนโฮ้สออกทั้งหมดได้เลยค่ะ

สร้างฐานข้อมูล

เราสามารถสร้างฐานข้อมูลด้วยการ login เข้าไปยัง website control panel ของเรา (ในที่นี้จะเป็น directAdmin) แล้วทำการสร้าง Database User ขึ้นมา แล้วก็สร้างตารางฐานข้อมูลใน phpMyAdmin อีกที เพื่อเอาข้อมูลตรงนี้ไปใช้เชื่อมต่อกับไฟล์ wp-config.php บนโฮ้ส

โดยการ Login เข้า DirectAdmin นั้นเราจะใช้ข้อมูลจากโฮ้สต์คือ Username และ Password ที่หมายเลข 1 และเข้า DirectAdmin ผ่านทางบราวเซอร์แบบ ID หรือผ่านโดเมนของเราก็ได้ค่ะ

host-detail

สร้างฐานข้อมูลโดยการคลิกที่ MySQL Management

คลิก Create new Database

จะมีหน้าต่างให้เราสร้าง User ใหม่ โดยให้เราเติมคำอะไรก็ได้ในช่องต่างๆ เพื่อสร้าง database name, database username แนะนำว่าให้ใช้เหมือนกันก็จะจำง่ายดีค่ะ ส่วนรหัสนั้นสามารถให้ระบบทำการสุ่มสร้างให้ได้เลย โดยการคลิกที่ Random ค่ะ เสร็จแล้วกดปุ่ม Create

ระบบก็จะแสดงผลการสร้างฐานข้อมูลขึ้นมา ให้เราก๊อปปี้ทั้งหมดนี้ไว้ค่ะ หรือปล่อยทิ้งไว้ห้ามปิดเด็ดขาด ไม่งั้นก็ต้องทำใหม่

เชื่อมต่อฐานข้อมูลด้วยไฟล์ wp-config.php

ที่โปรแกรม fileZilla ให้เราเลื่อนหาไฟล์ที่มีชื่อว่า wp-config-sample.php แล้วคลิกขวา เลือก View/Edit เพื่อเปิดไฟล์จาก server ขึ้นมาแก้ไขค่ะ

สิ่งที่เราจะต้องแก้ไขก็คือที่มาส์กสีเหลืองไว้นะคะ โดยให้เราแทนค่าเหล่านี้ด้วยข้อมูลที่เราได้มาก่อนหน้านี้ คือ Database name, Database username, Database password นั่นเองค่ะ

จากนั้นให้คลิกปิดออกไป โปรแกรมจะถามว่าเราต้องการที่จะบันทึกการเปลี่ยนแปลงก่อนหน้านี้ไปที่ server หรือไม่ ก็ให้เราตอบใช่ไปค่ะ

จากนั้นให้คลิกขวาที่ไฟล์ wp-config-sample.php แล้วเลือกคำสั่ง rename เพื่อเปลี่ยนชื่อ โดยลบคำว่า sample ออก ให้เหลือเป็นเฉพาะ wp-config.php ค่ะ

เสร็จแล้วให้เราเข้าที่เว็บของเราโดยพิมพ์ชื่อเว็บที่บราวเซอร์ ก็จะเจอกับหน้าติดตั้ง WordPress ค่ะ

 ตั้งค่า WordPress ครั้งแรก!

เมื่อเราเข้าสู่เว็บไซต์ของเราครั้งแรก ระบบจะให้เราเลือกภาษาที่ต้องการ

เลือกภาษา ไทย แล้วคลิกที่ปุ่ม ต่อไป

thai-language

จากนั้นกรอกข้อมูลต่างๆ ให้ครบถ้วน แล้วก็คลิกที่ปุ่ม ติดตั้งเวิร์ดเพรส ได้เลย

exaple-thai-setup

หัวข้อเว็บ คือข้อความที่จะปรากฏในแต่ละหน้าของเว็บนั่นเอง หัวข้อเว็บนี้จะเป็นข้อความสำหรับหน้า Home (หน้าแรก) โดยเฉพาะ

site-title

ชื่อผู้ใช้ หลีกเลี่ยงชื่อผู้ใช้ Admin เพราะอาจไม่ปลอดภัยค่ะ โดยเจาะบ่อยที่สุด

รหัสผ่าน ควรตั้งรหัสผ่านที่มีความซับซ้อนแต่จดจำง่าย เพื่อความปลอดภัยอีกเช่นกัน

อีเมล กรอกอีเมล ซึงจะเป็นอีเมลหลักของเว็บไว้สำหรับส่งการแจ้งเตือนต่างๆ

เมื่อเราคลิก ติดตั้งเวิร์ดเพรส แล้ว ระบบก็จะทำการติดตั้งให้เราค่ะ แล้วก็รายงานผลพร้อมให้เราคลิกที่ปุ่ม เข้าสู่ระบบ เพื่อทำการเข้าสู่ระบบครั้งแรก

thai-login

จากนั้นเราก็จะเขาสู่หน้า เข้าสู่ระบบ ให้กรอก ชื่อผู้ใช้ และ รหัสผ่าน ให้เรียบร้อย แล้วก็คลิกที่ปุ่ม เข้าสู่ระบบ

thai-login-wordpress

ระบบก็จะนำเราเข้าสู่หน้าควบคุม (Dashboard) ของ WordPress เป็นครั้งแรก

dashboard-thai

เราสามารถดูหน้าเว็บของเราได้ โดยการเลื่อนเม้าส์ไปที่เมนูรูปบ้าน ซึ่งจะตามด้วยข้อความที่เรากำหนดเป็นหัวข้อเว็บ ที่ด้านบนซ้าย แล้วคลิกที่เมนูย่อย  เยี่ยมชมเว็บไซต์

thai-visit-site

และนี่ก็คือหน้าเว็บเริ่มต้นของเรา โดยใช้ธีมเริ่มต้นที่มากับ WordPress ซึ่งอาจต่างกันในแต่ละเวอร์ชั่น

preview-site-thai

สำหรับการกลับไปที่ หน้าควบคุม ก็ให้ทำแบบเดิม แต่จะมีเมนู หน้าควบคุม มาให้เราคลิกแทนค่ะ

back-to-dashboard-thai

เลือกใช้ภาษาอังกฤษ

เลือก English แล้วคลิกปุ่ม Continue

wp-choose-language

Site Title ชื่อเว็บ
Username ชื่อของแอดมิน หลีกเลี่ยงการใช้ชื่อ Admin
Password ใส่รหัสผ่านให้เหมือนกันทั้ง 2 ช่อง
Your Email สำหรับใส่อีเมลที่ระบบจะทำการติดต่อกับเรา เช่น การเมลแจ้งเตือนต่างๆ
Privacy กำหนดให้ search engine (google, yahoo) สามารถมาเก็บข้อมูลเว็บเราไปใช้สำหรับการค้นหาได้

Site Title  คือข้อความที่จะปรากฏในแต่ละหน้าของเว็บนั่นเอง หัวข้อเว็บนี้จะเป็นข้อความสำหรับหน้า Home (หน้าแรก) โดยเฉพาะ

site-title

ติดตั้งเสร็จแล้วพร้อม Login เข้าสู่ระบบแล้วค่ะ ให้เรากรอกชื่อ Username และ Password ที่ตั้งไว้เพื่อเข้าสู่ระบบ

login-eng

ขั้นตอนต่อไปก็ลองเข้าสู่ระบบเอง ด้วยการพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ของเรา ตามด้วย  /wp-admin  แล้วก็กรอกชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านตามที่ตั้งไว้ค่ะ เราก็จะเข้าสู่หน้า Dashboard ของ WordPress

dashboard-eng

เราสามารถดูหน้าเว็บของเราได้ โดยการเลื่อนเม้าส์ไปที่เมนูรูปบ้าน ซึ่งจะตามด้วยข้อความที่เรากำหนดเป็นหัวข้อเว็บ ที่ด้านบนซ้าย แล้วคลิกที่เมนูย่อย  Visit Site โดยระบบจะนำเราเข้าสู่หน้าเว็บจริงของเรา โดยจะแสดงตามธีมเริ่มต้น ซึ่งอาจจะแตกต่างกันที่เวอร์ชั่น WordPress แต่ละรุ่น ซึ่งมีธีมพื้นฐานแตกต่างกัน

visit-site-eng

สำหรับการกลับไปที่ Dashboard ก็ทำเหมือนเดิมค่ะ จะมีเมนู Dashboard มาให้เราคลิก

back-to-dashbord-eng

Back To Top
Search