Skip to content

เนื่องจาก WordPress นั้นเป็น CMS ที่อัพเดตบ่อยมากๆ เพราะมีคนใช้งานเป็นจำนวนมาก นอกจากอัพเดตหลักแล้วก็ยังจะมีอัพเดตย่อยปิดช่องโหว่ต่างๆ ยิบย่อยนับไม่ถ้วน ดังนั้นก่อนที่จะกดอัพเดตเราก็ควรมีการเตรียมความพร้อมก่อนนิดนึง เพราะ WordPress นั้นทำงานร่วมกับธีมและปลั๊กอิน บางทีเมื่อตัวนึงอัพเดตก็อาจจะส่งผลกระทบกับตัวอื่นๆ ได้

สำหรับคนเลือกที่จะ รอ…

ทางเลือกนี้เป็นทางเลือกที่หลายคนใช้กัน นั่นคือ รอ หลายคนเลือกที่จะรอ รอว่าคนอื่นมีปัญหามั๊ย เค้าอัพแล้วเป็นยังไง บางคนก็รอจนสุดท้ายก็ไม่ได้อัพ ปล่อยไว้แบบนั้นจนผ่านไปหลายเวอร์ชั่นเพราะความกลัวว่าเว็บจะพัง ซึ่งการเลี่ยงการอัพเดตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ

เราลองมาดูวิธีการรอแบบมีแบบแผนกันซักนิดนึง นอกจากรอคนอื่นอัพแล้ว เราสามารถเช็คดูได้ว่าตอนนี้ปลั๊กอินและธีมที่เราใช้งานอยู่นั้นมีการอัพเดตหรือยัง ปกติแล้ว WordPress จะปล่อยตัวเบต้าออกมาให้ทดลองก่อนตัวจริงเสมอ นักพัฒนาก็มักจะใช้นำมาปรับปรุงธีมหรือปลั๊กอินของตัวเองเพื่อให้รองรับกับตัวจริงที่จะออกมาภายหลัง หรือเราก็อาจจะเช็คได้ว่าปลั๊กอินอัพเดตล่าสุดเมื่อไหร่ หากเป็นการอัพเดตย่อยของ WordPress ปลั๊กอินอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากเท่าไหร่ แต่ยังไงก็ไม่ควรใช้ปลั๊กอินที่ไม่อัพเดตนานหลายปี แค่เกินปีเดียวก็ต้องชั่งใจแล้ว บางคนอาจจะเลิกพัฒนาต่อแล้วเราก็ไม่อาจรู้ได้

plugin-last-update

หากใครไม่ได้ใช้ปลั๊กอินที่มีอยู่บนไลบารี่ของ WordPress ก็อาจจะต้องไปติดตามข่าวที่เว็บปลั๊กอินที่เราใช้งานหรือสอบถามเจ้าของปลั๊กอินด้วยตัวเอง

โคลนนิ่งเว็บลงมาทดสอบบนเครื่องส่วนตัว

Migrate หรือการย้ายโคลนนิ่งเว็บไซต์ของเรามายังเครื่องส่วนตัวเพื่อทำการทดลองดูว่าหากอัพเดตแล้วจะมีปัญหาหรือไม่ วิธีการนี้ไม่ต้องรอและเป็นวิธีที่แนะนำในทุกสถานการณ์ เพราะก่อนที่คุณจะทำการโคลนนิ่งนั้นก็เป็นการสร้างแบคอัพในตัวอยู่แล้ว เราสนับสนุนการแบคเพื่อสำรองข้อมูลเสมอ

ใช้ DesktopSever เพื่อสร้างเซิฟเวอร์จำลอง แล้วทำการย้ายเว็บไซต์ผ่านการ Backup/Restore ด้วยปลั๊กอินอย่าง  All-In-One WP Migration

Download

หากใช้ปลั๊กอินนี้เราอาจจะสร้างเว็บจำลองโดยการสร้างการติดตั้ง WordPress จากเวอร์ชั่นที่เหมือนกับเราใช้บนโฮ้สต์จริง โดยการดาวน์โหลดจาก wordpress.org ไปใส่ในโฟลเดอร์ Blueprint อ่านรายละเอียดในการใช้งานโปรแกรม DesktopServe นะคะ ส่วนเว็บของเรานั้นใช้รุ่น Premium จะสามารถนำ Backup จากของปลั๊กอิน Duplicator, BackupBuddy ไป Import เข้าได้เลย โดยจะเหมือนกับต้นฉบับทุกประการณ์โดยอัตโนมัติ

ในภาพด้านล่างคือ wplocal.dev ที่เป็นตัวโคลนนิ่งของ wpthaiuser.com สำหรับใช้บนคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เราจึงสามารถที่อัพเดตได้เลยโดยไม่ต้องกลัวว่าจะกระทบกับเว็บจริง จะปรับแต่งอะไรก็สามารถทดลองกับเว็บ wplocal.dev นี้ได้ เสร็จแล้วจะย้ายขึ้นไปบนโฮ้สต์จริงก็ง่ายอีกเช่นกัน

wplocal-dev

เมื่อต้องอัพเดตธีม ปลั๊กอิน

Backup การแบคอัพง่ายๆ ที่เราไม่ค่อยเห็นความสำคัญ จะช่วยให้เราไม่ต้องปวดหัวกับปัญหาต่างๆ ที่จะตามมาหลังการอัพเดตธีมและปลั๊กอินต่างๆ เพราะเราสามารถที่จะย้อนไปใช้เวอร์ชั่นก่อนหน้าได้ง่ายๆ เพียงไม่กี่คลิก เพราะบางทีมันก็เป็นการยากที่จะตามหาไฟล์ปลั๊กอินเวอร์ชั่นเดิมมาติดตั้ง

สำหรับการแบคอัพนั้นก็สามารถใช้ปลั๊กอิน UpdraftPlus ได้ ปลั๊กอินนี้ควรติดไว้ทุกเว็บ เพราะไม่จำกัดขนาดของแบคอัพค่ะ หากใช้เวอร์ชั่นพรีเมี่ยม ปลั๊กอินจะทำการแบคอัพให้อัตโนมัติเมื่อเรากด Update ปลั๊กอินหรือธีม และสามารถแบคอัพตัว WordPress Core ได้ด้วย เพราะบางทีด้วยความตื่นเต้นอยากลองของใหม่เราก็อาจจะลืมกดแบคอัพก่อนได้เช่นกัน

autoupdate

เพียงเท่านี้เราก็จะปลอดภัยสำหรับทุกการอัพเดตแล้วล่ะค่ะ

Back To Top
Search