ปกติเมื่อเราใช้งาน ServerPilot ระบบจะติดตั้ง PHP, MySQL ให้เสร็จสรรพ แต่ไม่ได้ติดตั้ง phpMyAdmin มาให้สำหรับเราใช้จัดการฐานข้อมูลด้วย ดังนั้นเราสามารถที่จะติดตั้ง phpMyAdmin เป็นแอปแยกต่างหาก ซึ่งจะสามารถใช้งานได้กับทุกฐานข้อมูลของทุกเว็บที่อยู่ในเซิฟเวอร์เดียวกัน นอกจากนี้ยังช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของ Error 200: Lost connection ที่เจอประจำถ้าเราใช้แบบติดตั้งแยกในแต่ละเว็บ อีกอย่างคือไฟล์ของ phpMyAdmin ค่อนข้างใหญ่พอสมควร ติดตั้งแบบนี้ทีเดียวใช้ทั้งเซิฟเวอร์จะสะดวกกว่าค่ะ

Create App

ล็อกอินเข้า ServerPilot จากนั้นเลือกเซิฟเวอร์ที่เราต้องการติดตั้ง phpMyAdmin เข้าไป กรณีนี้เราไม่จำเป็นต้อง Connect Server ใหม่ เพราะเราจะติดตั้งไว้ในเซิฟเวอร์ที่เราใช้สร้าง WordPress อยู่แล้ว

คลิกที่เมนู Apps

คลิกที่ปุ่ม Create App

ตั้งชื่อแอป ในช่อง Name จากนั้นใน Domain ก็ใส่เป็นซับโดเมนที่เราต้องการ เช่นเราใส่เป็น db.wpthaiuser.com เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Create App

FTP phpMyAdmin

ทำการดาวน์โหลด phpMyAdmin จากเว็บของ phpMyAdmin แล้วทำการแตกไฟล์ซิปออก ซึ่งจะเป็นชื่อยาวๆ แล้วแต่ว่าเราดาวน์โหลดไฟล์ไหน แต่เราจะเปลี่ยนชื่อสั้นๆ เป็น phpmyadmin ก็พอ

จากนั้นใช้โปรแกรม FTP เช่น FileZilla ทำการอัพโหลดโฟลเดอร์ขึ้นไปบนเซิฟเวอร์ โดยนำไปใส่ไว้ในโฟลเดอร์ phpmyadmin ซึ่งเป็น App ที่เราสร้างไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ /apps/ เมื่ออัพโหลดเรียบร้อยแล้วก็ให้ลบโฟลเดอร์ public เดิมออก

จากนั้นเข้าไปในโฟลเดอร์ของ phpMyAdmin แล้วเปิดไฟล์ที่มีชื่อว่า confic.sample.inc.php ขึ้นมา แล้วใส่รหัสตัวเลขตัวหนังสืออะไรก็ได้ ลงใน อย่างน้อย 32 ตัวอักษร

ตัวอย่าง

$cfg['blowfish_secret'] = 'f7230$43^q5Tqw53yoq42bd*984(*^3rs^1';

บันทึกการแก้ไขแล้วแก้ชื่อไฟล์จากให้เปลี่ยนชื่อไฟล์เป็น confic.inc.php (ลบคำว่า sample ออก)

กลับออกมาที่โฟลเดอร์หลัก phpMyAdmin ให้ทำการเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์นี้เป็น public แทนของเดิมที่เราลบไป ซึ่งมันจะกลายเป็นโฟลเดอร์ที่เป็น root directory ให้เรานั่นเอง

DNS Configuration

ทำการตั้งค่า CNAME โดยเพิ่มซับโดเมน db ใน DigitalOcean และผู้ให้บริการโดเมนของเรา

ผู้ใช้บริการโดเมนของเราใช้ Name.com

หากเว็บเราใช้ SSL ฟรีกับ ServerPilot อยู่แล้ว ก็อย่าลืมไปเปิด AutoSSL ด้วยนะคะ ในเมนู App เลือกชื่อแอป แล้วไปที่ SSL แล้วคลิก Enable AutoSSL (อาจต้องรอ DNS อัพเดตก่อนนิดนึงถึงจะใช้ได้)

จากนั้นเราจะสามารถเข้าใช้งาน phpMyAdmin ด้วย URL https://db.wpthaiuser.com ได้แล้วค่ะ

Username นั้นเราสามารถดูได้ที่เมนู App เลือกแอปที่เราต้องการอย่างแอปตัว WordPress ที่เราต้องการ แล้วไปที่ Database จากนั้นก็จะมี Username ให้เราดูค่ะ

สำหรับรหัสผ่าน ให้ใช้โปรแกรม FTP ดูในไฟล์ wp-config.php ค่ะ