Skip to content

ในบางครั้งเราอาจต้องมีการย้ายโฮ้สต์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด เช่น โฮ้สต์เก่ามีปัญหาล่มบ่อย ช้า หรือหมดช่วงเวลาโปรโมชั่นแล้ว หากใช้ต่ออาจเสียค่าใช้จ่ายแพง ก็อาจใช้วิธีการ backup แล้วก็ทำการย้ายไปยังที่ใหม่ที่เราได้ซื้อไว้

วิธีการที่จะแสดงให้ชมนี้เป็นวิธีการพื้นฐานที่ชัวร์ที่สุด ทำแรกๆ อาจจะงงๆ หน่อย แต่ถ้าคล่องแล้วก็จะไม่นานเลยค่ะ จะเสียเวลาเล็กน้อยตอนดาวน์โหลดและอัพโหลดไฟล์เว็บไซต์

ข้อมูลที่ต้องใช้ในการย้ายโฮ้ส 

เช่นเดียวกับการติดตั้ง WordPress ใหม่ เราต้องใช้ข้อมูล Username/Password (1), รายละเอียด Ftp เพื่อใช้ในการอัพโหลดไฟล์ (2) และ URL สำหรับเข้าใช้งาน DirectAdmin ของเรา (3)

host-detail

ขั้นตอนหลักๆ ของการย้าย host

  1. Export Database หรือฐานข้อมูลใส phpMyAdmin (ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นโดยอัตโนมัติหากเราใช้วิธี การติดตั้ง WordPress แบบรวดเร็ว)
  2. Download ไฟล์ WordPress
  3. เปลี่ยน nameserver ของโดเมนให้ชี้ไปที่โฮ้สต์ใหม่
  4. สร้าง Database ใหม่
  5. Import Database เดิมเข้าโฮ้สใหม่
  6. อัพโหลดไฟล์ของ WordPress
  7. แก้การตั้งค่าการเชื่อมต่อฐานข้อมูลของ host เดิมให้เป็นอันใหม่ในไฟล์ wp-config.php

เราจะพยายามเขียนให้สั้นๆ กระชับๆ เพื่อให้ไม่ดูเยอะจนเกินไปซึ่งอาจทำให้ยิ่งอ่านยิ่งสับสนนะคะ เพราะโฮ้สต์แต่ละที่อาจไม่เหมือนกัน ถ้าเขียนแบบละเอียดแล้วผู้อ่าน อ่านตามแล้วมีบางจุดไม่เหมือนกัน จะเกิดปัญหาไม่แน่ใจและไปต่อไม่ได้

หมายเหตุ : ในตัวอย่างนี้ เราจะ Export จากโฮ้สต์ที่ใช้ Control panel ของ DirectAdmin และโฮ้สต์ใหม่ที่เราจะ Import เข้าไป จะเป็นแบบ cPanel เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นข้อแตกต่างในการใช้งาน และจะใช้แอคเค้าที่แตกต่างกันในการยกตัวอย่าง เพราะฉะนั้นขอให้ผู้อ่านอย่ายึกติดที่ชื่อต่างๆ เพราะอาจ export อีกเว็บ แต่ import เป็นอีกเว็บ ให้นึกซะว่าเป็นเว็บเดียวกันเพื่อไม่ให้เกิดการสับสนค่ะ ต้องขออภัยในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

1. Export Database

ให้เราทำการล็อกอินเข้าไปใน DirectAdmin ของเว็บไซต์ของเราก่อน (ใช้ข้อมูลจากรูปด้านบน)

จากนั้นไปที่ MySQL Management

คลิกที่ลิงค์ phpMyAdmin เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล แล้วจะมีกล่องข้อความให้เรากรอก Username และ Password อีกที

คลิกที่ชื่อฐานข้อมูลเว็บของเรา

choose-database-first

คลิกที่แท็บ Export (ส่งออก)

จากนั้นคลิกที่ Export Method : ให้เลือกเป็น Custom แล้วที่ตัวเลือก Compression ให้เลือกเป็นแบบ gzipped เพื่อเป็นการบีบอัดฐานข้อมูลที่เราจะ export เนื่องจากบางทีฐานข้อมูลอาจมีขนาดใหญ่เกินไปจนเราไม่สามารถที่จะ Import เข้าที่โฮ้สต์ใหม่ได้

แล้วให้คลิกที่ปุ่ม Go ด้านล่างสุด เพื่อทำการเซฟไฟล์ database ที่เรา export ไว้

2. ดาวน์โหลดไฟล์เว็บไซต์ WordPress

ในขั้นตอนนี้เราจะทำการดาวน์โหลดไฟล์ php ต่างๆ ของ WordPress มาไว้ในเครื่องของเราเพื่อรอการอัพโหลด ขั้นตอนนี้สามารถอ่านได้จาก การใช้งาน Ftp FileZilla ได้เลยค่ะ 

3. เปลี่ยน Nameserver ของโดเมนให้ชี้ไปที่ Host ใหม่

ล็อกอินเข้าไปที่ผู้ให้บริการที่เราเช่าโดเมนไว้ แล้วไปที่หน้า Nameserver เพื่อทำการกำหนด Nameserver ใหม่ให้ชี้มายังโฮ้สต์ใหม่ของเราค่ะ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาสักระยะในการรอให้มีการอัพเดตเส้นทางเสร็จสมบูรณ์ จากประสบการณ์ ตรงนี้แนะนำว่าเมื่อเราทำการเปลี่ยนแล้ว อย่าเพิ่งเข้าเว็บเรา บางคนชอบลองค่ะ เข้าดูหลายรอบก็ไม่เปลี่ยนซักที แต่หากไม่เข้าเลย ปล่อยทิ้งไว้ซักพัก ไม่นานระบบก็จะเปลี่ยนเส้นทางไปที่โฮ้สต์ใหม่ของเราโดยสมบูรณ์

4. สร้าง Database

ขั้นแรกให้เราล็อกอินเข้า DirectAdmin ก่อน โดยใช้รายละเอียดจากรูปด้านบนเช่นเดิม จากนั้นคลิกที่ MySQLManagement

sql-management

จากนั้นคลิกที่ Create new Database

ตั้งชื่อ Database, User และ Password ใหม่ค่ะ โดยระบบอาจจะตั้งส่วนหน้ามาให้ แล้วเราก็เติมส่วนหลังเพิ่มเข้าไป อาจใช้ชื่อเหมืกนันก็ได้เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เสร็จแล้วก็ตั้งรหัสผ่าน ในที่นี้เราให้ระบบทำการ random ค่ะ และคลิกที่ปุ่ม Create ค่ะ

ตรงนี้สำคัญมาก คือเราจะต้องจดข้อมูล 3 อย่างนี้ไว้เพื่อไปแก้ไขไฟล์ wp-config.php ของเรา ให้เราทำการก๊อปปี้ข้อมูลนี้เก็บไว้ค่ะ

5.  Import Database

ที่หน้า Control panel ให้เราไปที่เมนู MySQL Management > PhpMyAdmin

phpmyadminใส่รหัสผ่านที่เราได้สร้างไว้ในขั้นตอนก่อนหน้านี้ แล้วคลิก Login

เลือกฐานข้อมูลที่เราได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้

คลิกที่แท็บ Import

เลือกไฟล์ที่ database เราได้ทำการ Export ไว้ในขั้นตอนแรกแล้วคลิกที่ปุ่ม Go แล้วก็รอจนอัพโหลดเสร็จ แล้วแต่ขนาดไฟล์

Import เรียบร้อยแล้ว

6. อัพโหลดไฟล์ WordPress

ใช้โปรแกรม FileZilla Client Ftp เพื่ออัพโหลดไฟล์

อัดโหลดไฟล์เว็บไปไว้ในแฟ้ม public_html

7.  แก้ไขไฟล์ config.php เพื่อเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลใหม่

ที่ฝั่งโฮ้สต์ของโปรแกรม FileZilla ให้เราทำการคลิกขวาที่ไฟล์ wp-config.php แล้วเลือกเมนู View/Edit เพื่อเปิดไฟล์ขึ้นมาทำการแก้ไข

ทำการเปลี่ยนค่าต่างๆ ที่ได้มาจากการติดตั้งเก่าของเราให้เป็นค่าที่เราสร้างขึ้นใหม่จากขั้นตอนที่ 4

เมื่อเราแก้เสร็จ ก็ให้กดปิดหน้าต่าง โปรแกรมจะถามว่าเราจะบันทึกและทำการเปลี่ยนแปรงไปยังโฮ้สต์หรือไม่ก็ให้เราตอบตกลงและ Yes ไป

เพียงเท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการย้ายโฮ้สต์แล้ว หากโดเมนของเราอัพเดต nameserver เป็นที่สมบูรณ์ เราก็จะสามารถเข้าเว็บของเราได้เลย แต่หากลองเข้าดูแล้วคิดว่ายังไม่ใช่ ก็เพียงแต่รอให้ระบบอัพเดตเสร็จเรียบร้อยก่อน

เปลี่ยนโดเมน?

หากเราทำการเปลี่ยนทั้งโฮ้สต์และโดเมนด้วย ก็ให้เข้าไปที่ phpMyAdmin ตามวิธีด้านบน จากนั้นให้แก้ไขข้อมูล site-url ในแถว wp-option

Back To Top
Search